บทที่ 4

บทที่ 4


 ผลการดำเนินงาน

               การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง ผักปลอดสารพิษนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำโครงงานเรื่องที่สนใจและการสร้าง google site เพื่อเผยแพร่โครงงาน เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้นและยังเป็นการเผยแพร่ความรู้เรื่องผักปลอดสารพิษให้กับผู้ที่สนใจในเรื่องผักปลอดสารพิษ ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครูเพื่อนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

4.1 การบำรุงรักษาพืชผักปลอดสารพิษ
         การบำรุงรักษาพืชผักปลอดสารพิษอย่างสม่ำเสมอ  จะทำให้พืชที่ปลูกไว้เจริญเติบโตและงอกงาม
ได้ดี  โดยมีหลักปฏิบัติ  ดังนี้
1.  การรดน้ำ  ควรรดน้ำในตอนเช้าและตอนเย็น โดยค่อย ๆ รดน้ำให้ชุ่มชื้น  แต่อย่าให้แฉะจนเกินไป  เพราะจะทำให้รากเน่าได้
2.  การพรวนดิน  ควรพรวนดินทุก ๆ 7-10 วัน  โดยพรวนให้ทั่วทั้งแปลง  และพรวนให้ลึกพอสมควร  แต่ควรระวังอย่าให้ถูกราก  เพราะอาจทำให้รากขาดได้
3.  การใส่ปุ๋ย  ควรเลือกใส่ปุ่ยให้เหมาะกับพืช  โดยโรยให้ทั่วแปลงปลูกในปริมาณที่พอเหมาะ  แล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังจากใส่ปุ๋ยแล้วทุกครั้ง
4.  การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช  ขณะพรวนดินควรถอนหรือเก็บวัชพืชออกให้หมด  และควรดายหญ้าในแปลงปลูกอยู่เสมอ  ถ้ามีแมลงศัตรูพืชต้องเก็บทิ้งหรือใช้ยากำจัดศัตรูพืชฉีดป้องกันประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

    4.2 การเก็บเกี่ยวพืชผักปลอดสารพิษ
   การเก็บเกี่ยวพืชผักปลอดสารพิษจะทำเมื่อผักเจริญเติบโตเต็มที่  ซึ่งมีข้อปฏิบัติดังนี้
1.  ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตในตอนเช้าหรือตอนเย็น
2.  ควรใช้กรรไกรตัดกิ่งหรือมีดคม ๆ เก็บเกี่ยว  เพราะจะทำให้พืชผักไม่ช้ำ
3.  หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว  ควรนำพืชไปแช่น้ำหรือพรมน้ำ  เพื่อป้องกันผักเหี่ยว

4.3ตัวอย่างการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
การปลูกผักกาดหอม
       ผักกาดหอมเป็นพืชที่ปลูกง่าย  และเจริญเติบโตได้เร็ว  สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล  แต่จะให้ผลผลิตดีที่สุดเมื่อปลูกในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม – มกราคม

การปลูกผักกาดหอม  มีขั้นตอนดังนี้
1.  การปลูกพืชต้นกล้า  มีวิธีปฏิบัติดังนี้
    1)  เตรียมดินในภาชนะปลูกหรือแปลงปลูก  แล้วหว่านเมล็ดผักกาดหอมให้กระจายทั่วแปลง
    2)  เกลี่ยดินกลบให้เมล็ดแน่น  คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

2.  การย้ายต้นกล้า  มีวิธีปฏิบัติดังนี้
    1)  เตรียมดินในแปลงปลูก  ขุดหลุมให้ลึกพอสมควร  โดยแต่ละหลุมห่างประมาณ 30 เซนติเมตร  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
    2)  ขุดต้นกล้าจากแปลงเพาะไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ทันที  ไม่ควรทิ้งไว้นาน  เพราะต้นกล้าอาจตายได้
    3)  กดดินรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
    4)  ระยะ 2-3 วันแรก  ควรทำเพิงบังแดดให้ต้นกล้า  โดยเปิดให้ต้นกล้าได้รับความชื้นในช่วงเวลาเย็นและเวลากลางคืน


3.  การบำรุงรักษา  มีวิธีปฏิบัติดังนี้
    1)  การให้น้ำ  ควรรดน้ำวันละ1-2 ครั้ง  ในเวลาเช้าและเย็น  โดยรดน้ำให้ชุ่มและทั่วแปลง  แต่อย่าแฉะจนเกินไป
   2)  หารใส่ปุ๋ย  ควรพรวนดินให้ร่วนซุย  แล้วใส่ปุ๋ย  โดยหว่านปุ๋ยให้ทั่วแปลงปลูก  และรดน้ำตามทันที
   3)  การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช  ควรทำอย่างสม่ำเสมอ  ขณะพรวนดินควรถอนหญ้าที่ขึ้นอยู่รอบ ๆ ด้วยทุกครั้ง

 4.  การเก็บเกี่ยว
      ผักกาดหอมจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุประมาณ 40-45 วัน  และควรเก็บในช่วงเวลาเย็นที่มีแสงแดดอ่อน ๆ โดยใช้มีดคม ๆ ตัดบริเวณโคนต้น  แล้วดึงใบที่แก่ทิ้งก่อนนำไปประกอบอาหาร  หรือนำไปจำหน่าย

เกร็ดน่ารู้คู่บ้าน
        การเก็บเกี่ยวผักกาดหอม  ควรเลือกเก็บขณะที่ต้นผักกาดหอมยังอ่อนอยู่  และยังไม่ออกดอก  เพราะถ้าเก็บต้นแก่จะได้ผักกาดหอมที่มีรสขม

2 ความคิดเห็น: